ไปดูทางด่วนอัจฉริยะแดนผู้ดี

ประสบการณ์ใช้รถ | 11 มิ.ย 2561
แชร์ 0

เรื่องราวนวัตกรรมใน chobrod วันนี้จะพูดถึงการจัดทางด่วนของอังกฤษในรูปแบบ Smart Motorway ว่าพวกเขาใช้กันอย่างไรและมีประสิทธิภาพมากน้อยขนาดไหน

Smart motorway

Smart motorway

ทางด่วนอัจฉริยะคืออะไร?

ทางด่วนอัจฉริยะเป็นส่วนประกอบหนึ่งของทางด่วนที่ใช้วิธีจัดการจราจรเพื่อเพิ่มความสามารถและลดความแออัดในพื้นที่ต่างๆ ที่ติดขัด วิธีเหล่านี้ประกอบด้วยการใช้ไหล่ทางเป็นเลนวิ่งและการจัดความเร็วรูปแบบต่างๆ เพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ของจราจร
กรมทางหลวงอังกฤษได้พัฒนาระบบทางด่วนอัจฉริยะเพื่อจัดการจราจรด้วยวิธีที่มีผลต่อสภาพแวดล้อม ต้นทุน และเวลาน้อยสุดโดยไม่ต้องสร้างเลนถนนเพิ่ม ระบบทางด่วนอัจฉริยะสามารถแบ่งออกเป็นสามประเภทคือ

Smart motorway

Smart motorway

แบบวิ่งทุกเลน

อย่างที่ชื่อบอกไว้ ไหล่ทางบนถนนทุกใช้เป็นเลนวิ่งทั้งหมด ในทางด่วนแบบนี้ เลนหนึ่ง (ที่เป็นไหล่ทางเดิม) จะถูกปิดช่องเมื่อมีอุบัติเหตุ ในกรณีการปิดเลนจะใช้สัญญาณ X สีแดงบนป้ายไฟ ทำให้ผู้ขับต้องออกจากเลนนั้นให้เร็วที่สุด ไม่งั้นจะเป็นอันตรายมาก

ทางด่วนแบบวิ่งทุกเลนยังมีป้ายไฟแขวนที่แสดงตัวเลขบังคับจำกัดความเร็วซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร ถ้าไม่ได้แสดงตัวเลขจำกัดตามกฎหมายประเทศ กล้องตรวจจับความเร็วถูกใช้เพื่อมัดตัว ผู้ใช้รถได้ร้องเรียนกันมากถึงการจำกัดความเร็วที่เปลี่ยนแปลงฉับพลันทำให้ต้องเหยียบเบรคทันทีเพื่อลดความเร็วให้ทัน กรมทางหลวงได้แถลงไขว่ามีอาการ lag เล็กน้อยช่วงเปลี่ยนขีดจำกัดความเร็วกับตอนที่กล้องเริ่มตรวจจับความเร็ว เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้รถลดความเร็วในอัตราที่สมควร

แต่เวลาที่แน่นอนระบุไม่ได้กับกล้องทุกตัว และอย่างเร็วที่สุดคือสิบวินาที จึงสำคัญที่ผู้ใช้รถต้องตื่นตัวตลอดแล้วพร้อมรับมือกับความเร็วจำกัดที่เปลี่ยนแปลงอย่างคล่องแคล่วและปลอดภัย กล้อง CCTV ถูกใช้เพื่อสอดส่องการจราจรในทุกเหตุการณ์ เมื่อมีรถเสียหรืออุบัติหตุจะเกิดพื้นที่หลบภัยฉุกเฉิน (ERAs) ข้างถนนให้เข้าใช้

ทางด่วนควบคุม

ทางด่วนควบคุมมีอย่างน้อยสามเลนที่จำกัดความเร็วไม่คงที่ แต่ยังเก็บไหล่ทางไว้ ไหล่ทางถูกใช้ในเหตุฉุกเฉินจริงๆ ตัวเลขจำกัดความเร็วไม่คงที่ถูกแสดงบนป้ายไฟแขวน กล้องตรวจจับความเร็วยังคงใช้เหมือนเดิม

แบบไหล่ทางเปลี่ยนรูปแบบตลอดเวลา

ทางด่วนแบบนี้ใช้ไหล่ทางเป็นเลนวิ่งในช่วงการจราจรติดขัดเพื่อลดความแออัด บนถนนจะมีเส้นทึบสีขาวคอยแบ่งไหล่ทางจากถนน ป้ายไฟแขวนคอยบอกว่าไหล่ทางนั้นเปิดให้วิ่งหรือไม่ ถ้าป้ายว่างหรือมี X สีแดง หมายถึงห้ามเข้า ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน เช่นกัน สัญญาณ X สีแดงทำให้ผู้ขับต้องออกจากเลนนั้นให้เร็วที่สุด ไม่งั้นจะเป็นอันตรายมาก และมีพื้นที่ ERAs

>>เรื่องจริง หรือ เพ้อฝัน!? โปรเจค “sQuba” รถยนต์ดำน้ำได้แล้วนะ!?
>>“รถยนต์บินได้” นวัตกรรมเพ้อฝัน ณ วันที่เริ่มต้น

ทางด่วนอัจฉริยะเป็นอันตรายหรือไม่?

หลายคนคิดว่าทางด่วนอัจฉริยะอันตรายกว่าแบบปกติเพราะไม่มีไหล่ทาง แต่กรมทางหลวงได้เผยแพร่สถิติจากข้อมูลที่เก็บตั้งแต่เริ่มใช้งานเมื่อปี 2006 ว่า:

  • ความไว้ใจในการเดินทางเพิ่มขึ้นร้อยละ 22
  • การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุส่วนบุคคลลดลงมากกว่าครึ่ง
  • เมื่อเกิดอุบัติเหตุ, ความร้ายแรงโดยรวมลดลงเพราะไม่มีผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสน้อยลง

ทางด่วนอัจฉริยะมีค่าปรับหรือไม่?

มีสิ กฎหมายจราจรยังใช้ตามปกติแต่บางประเด็นโดยเฉพาะต้องชี้แจง



การจำกัดความเร็วไม่คงที่บนทางด่วนอัจฉริยะ

ฝ่าความเร็ว

กฎหมายและบทลงโทษข้อหาฝ่าความเร็วใช้เหมือนกันบนทางด่วนอัจฉริยะ แต่ด้วยกล้องที่มากกว่าและการจำกัดความเร็วไม่คงที่ ผู้ใช้รถมีสิทธิ์โดนจับแล้วปรับสูงขึ้น ความจริงนี้ยิ่งสนับสนุนมากขึ้นว่าผู้ใช้รถหลายคนไม่รู้ว่ามีกล้องตรวจจับความเร็วด้วยแม้ว่าจะป้ายจำกัดจะโล่งก็เถอะ

กรมทางหลวงแถลงว่า “ถ้าไม่มีการจำกัดความเร็วพิเศษแสดงขึ้น ตัวเลขนั้นเป็นไปตามกฎหมายประเทศ” “กล้องตรวจจับความเร็วทำงานบนทางด่วนอัจฉริยะ ถ้าไม่คุมความเร็ว ก็โดนปรับ”



สัญญาณ X สีแดงบนทางด่วนอัจฉริยะ

ละเลยสัญญาณ X สีแดง

การละเลยมันเป็นเรื่องอันตรายมาก ผู้ฝ่าฝืนจะโดนทั้งค่าปรับและบวกแต้มความประพฤติ หรือต้องเข้าอบรมการใช้ทางด่วน



เคล็ดลับการขับขี่บนทางด่วนอัจฉริยะ

เคล็ดลับการขับขี่

รัฐบาลอังกฤษได้แนะนำการขับรถบนทางด่วนอัจฉริยะไว้เช่น:

  • ห้ามเข้าเลน X สีแดง
  • ลดความเร็วให้ต่ำกว่าเลขบนป้าย
  • เส้นทึบขาวไว้แยกไหล่ทาง อย่าเปลี่ยนเลนเข้าไปถ้าไม่จำเป็น
  • เส้นแบ่งขาวคือเลนปกติ
  • ถ้ารถมีปัญหา ลงจากทางด่วนให้เร็วที่สุด
  • ใช้พื้นที่หลบภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ถ้าไม่มีไหล่ทาง
  • เปิดไฟฉุกเฉินเมื่อรถเสีย


พื้นที่หลบภัยบนทางด่วนอัจฉริยะ

ทำอย่างไรถ้ารถเสียบนทางด่วนอัจฉริยะ?

ถ้าซวยจริงๆ ที่รถมาเสียบนนั้นพอดีหรือประสบอุบัติเหตุ มีขั้นตอนต่อไปนี้:

  • ใช้พื้นที่หลบภัยถ้าไปถึงอย่างปลอดภัย พื้นที่นั้นมีป้ายสีน้ำเงินกับโทรศัพท์ SOS สีส้ม ระยะห่างแต่ละจุดประมาณ 1.5 ไมล์
  • ถ้าไปไม่ถึงพื้นที่นั้น พยายามเบี่ยงออกข้างทางถ้าไม่มีรั้วกั้น
  • เปิดไฟฉุกเฉินในทุกกรณี
  • ถ้าหยุดรถในเลนริม ปล่อยรถไว้ที่เลนซ้ายแล้วรอหลังรั่วกั้น แต่ถ้าขยับรถไม่ได้ ให้รอในรถและคาดเข็มขัดต่อไป
  • ถ้าออกจากรถได้อย่างปลอดภัย ติดต่อกรมทางด่วนผ่านโทรศัพท์ช่วยเหลือฉุกเฉินข้างถนนในพื้นที่หลบภัย หรือกด 999 จากมือถือถ้าอยู่ในรถและคาดเข็มขัดอยู่

เป็นไงกันบ้างครับกับระบบทางด่วนของเมืองผู้ดีว่าเขาจริงจังและเข้มงวดขนาดไหน ผู้อ่านคิดว่าของประเทศไทยเรานั้นดีกว่าของเขาหรือไม่อย่างไร บอกกับเรา Chobrod ได้ครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก rac.co.uk

>>คนเชื่อมต่อรถ เทรนด์โลก ใกล้ความจริง! “Connected Car รถยนต์อัจฉริยะ”
>>“ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้!” กับ 5 นวัตกรรมด้านรถยนต์สุดเจ๋งน่าจับตามองปี 2018